เมนู

ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งตระกูลในวัฏฏะ และคติในวัฏฏะ. บทว่า ปุญฺญสฺส โกวิทา
ความว่า ความฉลาดในบุญที่เป็นไปในภูมิ 4. บทว่า ยญฺเญ คือในทาน
ตามปกติ. บทว่า สทฺเธ คือ ในทานอุทิศเพื่อผู้ตาย. บทว่า หุญฺญํ กตฺวา
ความว่า จัดไทยธรรมให้เป็นของควรบูชา. บทว่า สุกฺเขตฺเต พฺรหฺมจาริสุ
ความว่า ในเนื้อนาที่ดี กล่าวคือผู้ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า สมฺปตฺตํ
คือถึงดีแล้ว. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยสุ ยํ กตํ ความว่า ยัญที่สำเร็จใน
ทักษิไณยบุคคลผู้สมควร เป็นอันบุคคลบูชา เช่นสรวงถึงดีแล้ว. บทว่า สทฺโธ
ความว่า ชื่อว่า ผู้มีศรัทธา เพราะเธอในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและ
พระสงฆ์. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ได้แก่ มีใจสละแล้ว. ท่านแสดงการ
บริจาคด้วยน้ำใจเสียสละด้วยบทนี้แล.
จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ 10
จบจักกวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรในจักกวรรคนี้ คือ


1. จักกสูตร 2. สังคหสูตร 3. สีหสูตร 4. ปสาทสูตร 5.
วัสสการสูตร 6. โทณสูตร 7. อปริหานิสูตร 8. ปฏิลีนสูตร 9. อุช-
ชยสูตร 10. อุทายิสูตร และอรรถกถา.

โรหิตัสสวรรคที่ 5



10. สมาธิสูตร


ว่าด้วยสมาธิภาวนา 4


[41] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา 4 ประการนี้ สมาธิภาวนา
4 ประการคืออะไร คือสมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มาก. แล้วย่อมเป็นไป
เพื่อ (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร) ความพักผ่อนอยู่สำราญในอัตภาพปัจจุบันก็มี
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ (ญาณทัสนปฏิลาภ)
ความได้ญาณทัสนะก็มี สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อสติสัมปชัญญะก็มี สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะก็มี
ก็สมาธิภาวนาที่เจริญการทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความพักผ่อน อยู่
สำราญในอัตภาพปัจจุบันเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก ประกอบด้วย
วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบไป เธอได้ทุติยฌานอันเป็นเครื่องผ่องใสใน
ภายใน ประกอบด้วยความที่ใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ
และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
เพราะปีติคลายไปด้วย ภิกษุเพ่งอยู่ด้วย มีสติสัมปชัญญะด้วย เสวยสุข
ทางกายด้วย ได้ตติยฌาน ซึ่งพระอริยะกล่าว (ผู้ที่ได้ตติยฌานนี้) ว่า ผู้มี
สติเพ่งอยู่เป็นสุข